วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทรัพยากรป่าไม้

ทรัพยากรป่าไม้
1.ป่าประเภทไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีต้นไม้ที่มีใบเขียวชะอุ่มอยู่ตลอดทั้งปี ถึงจะมีการผลัดใบบ้างก็เพียงสลัดใบไม่พร้อมกันหมดทั้งต้น ป่าประเภทนี้ยังสามารถแบ่งออกอย่างกว้างขวางตามความสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้อีกคือ








1.1 ป่าดงดิบชื้น ขึ้นอยู่ทั่วไปของประเทศบริเวณที่มีดินเหนียว
หรือดินเหนียวปนทราย ที่มีความสามารถเก็บความชุ่มชื้นได้นานพบมากทางภาคใต้ของประเทศไทย ไม้สำคัญที่พบได้แก่ ไม้ในตระกูลยาง ไม้ตะเคียน ตะแบก มะหาด ยมหอม เป็นต้น จะมีไม้พื้นล่างขึ้นอย่างหนาแน่น รกทึบทำให้แสงสว่างส่องไม่ค่อยถึงพื้นดิน บางแห่งมีแสงส่องถึงพื้นดินเพียง 10-15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ไม้พื้นล่างได้แก่ ไม้ในตระกูลปาล์ม ไผ่ หวาย และเถาวัลย์ชนิดต่างๆ










1.2 ป่าดงดิบแล้ง สภาพโดยทั่วไปคล้ายกับป่าดงดิบชื้น แต่ความหนาแน่นของพรรณไม้พื้นล่างโปร่งกว่า ไม้มีขนาดเล็กกว่าปริมาณน้ำฝนมีน้อยกว่าป่าดงดิบชื้น ส่วนชนิดพันธุ์ไม้ก็คล้ายป่าดงดิบชื้น มีขึ้นทั่วไปของประเทศ ส่วนที่แตกต่างจากป่าดงดิบชื้นคือต้นไม้ในป่าประเภทนี้มีทั้งที่ผลัดใยและไม่ผลัดใบ










1.3ป่าดงดิบเขา เป็นป่าไม้ที่ขึ้นอยู่ในที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,100เมตรขึ้นไป มีอากาศเย็นความชื้นสูงพันธุ์ไม้ที่สำคัญที่พบได้แก่ไม้ในวงศ์ไม้ก่อหรือที่เรียกว่า ไม้ โอ๊ค ไม้พื้นล่างมีไม้ตระกูลกุหลาบป่า ผักกูด กล้วยไม้ดิน เง้าน้ำทิพย์ มอสชนิดต่าง ๆๆ หรือข้าวตอกฤาษี เป็นต้น












1.4ป่าสนเขา ส่วนใหญ่พบบนยอดเขาหรือตามเนินเขาสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไป จะเป็นหมู่เดี่ยว ๆๆ บางทีขึ้นอยู่ปะปนกับป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณหรือป่าแดง โดยทั่วไปชอบขึ้นในดินที่ไม่สู้อุดมสมบูรณ์นัก ดินเป็นกรด มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญเพียง 2ืชนิด คือ ไม้สนสองใบและสนสามใบ สนสองใบ บางท้องถิ่นเรียกสนเขา สนหางม้า เกี๊ยะเปลือกดำ จ๋วง ไม้ใต้ โชเกี๊ยะเปลือกหนา ขึ้นอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 เมตร ถึง 1,000 เมตรสนสามใบ หรือไม้เกี๊ยะเปลือกบาง เปลือกแดง จะพบในที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป








1.5 ป่าชายเลน เป็นป่าที่ขึ้นอยู่บนดินตามริมชายฝั่งทะเ
 ปากแม่น้ำลำคลอง ที่มีน้ำเค็มขึ้นถึง จะพบทางภาคตะวันออก ภาคกลางและภาคใต้สำหรับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีป่า ชนิดนี้มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้โกงกางมีลักษณะพิเศษเป็นไม้ที่มีรากออกมาจากส่วนของลำต้นนอกจากนี้ไม้บางชนิดจะมีรากอากาศ เช่น ไม้ลำพู ลำแพน เป็นต้น ไม้พื้นล่างประกอบด้วย ไม้ปรงทะเล เหงือกปลาหมอ ปอทะเล โพธิทะเล เป้งทะเลเป็นต้น








2. ป่าประเภทผลัดใบ ได้แก่ป่าที่ต้นไม้จะทิ้งใบในฤดูแล้งพร้อมกันหมด เนื่องจากอากาศแห้งแล้ง ไม่มีฝนตกความชุ่มชื้นในดินมีน้อยจึงต้องทิ้งใบเพื่อเป็นการป้องกันการคายน้ำและหยุดการเจริญเติบโตชั่วคราวเมื่อถึงฤดูฝนก็จะแตกใบใหม่ ป่าประเภทนี้แบ่งออกได้ เป็น 2 ประเภท




2.1 ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าโปร่ง มีไม้ขนาดกลางขึ้นมากกว่าขนาดใหญ่ (ตามธรรมชาติ) มีพันธุ์ไม้หลายชนิดขึ้นปะปนไม่เป็นระเบียบหรือเป็นหมู่ไม้พื้นล่างส่วนใหญ่เป็นไม้ไผ่ ป่าชนิดนี้จะพบในภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ตะวันออก ส่วนภาคใต้แทบไม่มี ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้สัก แดง ประดู่มะค่าโมง เก็ดแดง ซ้อ ตะคร้อ โมก ฯลฯ ไม้พื้นล่างที่พบเป็นพวกหญ้าคา สาบเสือ ไผ่ป่า ไผ่บง ไผ่ซาง ฯลฯ ไม้ที่สำคัญของป่าชนิดนี้ ได้แก่ไม้สัก ตามธรรมชาติจะขึ้นเป็นหมู่ ๆๆ หรือห่างประปรายทั้งบนภูเขาและที่ราบ ถ้าเป็นบนภูเขาจะพบในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางไม่เกิน 900เมตรจะขึ้นดีในดินที่เกิดจากหินปูนมีการระบายน้ำดี




2.2 ป่าแดง ป่าแพะ ป่าโคก หรือป่าเต็งรัง จะพบป่าชนิดนี้
มากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก แต่จะไม่พบในภาคใต้จะขึ้นอยู่ตามดินทรายหรือลูกรัง มีสีแดง เนื่องจากมีธาตุเหล็กผสมอยู่มาก ดินจึงมีสีแดง ป่าชนิดนี้ขึ้นในที่อากาศแห้งแล้ง มีปริมาณ น้ำฝนน้อย ดินตื้นอาหารในดินมีน้อย มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้เต็งรัง เหียง พลวง ยอป่า มะขามป้อม ไม้พื้นล่างมีพวกหญ้า โจด หญ้าเพ็ค ปรงป่า เป้ง และอื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น