วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทรัพยากรสัตว์ป่า

สัตว์ป่าสงวน
1. สัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าสงวน หมายถึงสัตว์ป่าที่หายาก ห้ามล่า ห้ามจับหรือมีไว้ในครอบครองเด็ดขาดหรือแม้แต่ซากของสัตว์ซึ่งหมายถึงร่างกายและส่วนของร่างกาย เช่น เนื้อ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปใดก็ตาม กระดูก ฟัน เขา หนัง ขน หรือเล็บ ยกเว้นจะทำเพื่อการศึกษาหรือเพื่อกิจการของสวนสัตว์สาธารณะโดยขออนุญาตจากกรมป่าไม้ สัตว์ป่าสงวนกำหนดไว้มี 15 ชนิดดังนี้ (พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535)
1.แรด ( RHINOCEROSRHINOCEROS) ) 
2.กระซู่ ( SUMATRAN RHINOSUMATRAN RHINO) )
3.สมัน หรือ เนื้อสมัน ( CURVUS SCHOMBURGKICURVUS SCHOMBURGKI)
4.นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ( WHITE EYED RIVER MARTINWHITE MARTIN) ) 
5.ละอง หรือ ละมั่ง ( ELD'S DEERELD'S DEER) 
6.ควายป่า ( WILD WATER BUFFALOWILD BUFFALO) 
7 .เลียงผา ( SEROWSEROW) )
8. กวางผา ( BURMESE GORALBURMESE GORAL)
9.กูปรี หรือ โคไพร ( BOS SAUVELIBOS SAUVELI)
10.นกแต้วแล้วท้องดำ ( GURNEY'S PITTAGURNEY'S PITTA)
11.สมเสร็จ หรือ ผสมเสร็จ ( TAPIRTAPIR)
12.อีเก้ง หรือ อีเก้งดำ หรือฟานดำ ( BLACK BARKING DEERBLACK DEER)
13.นกกระเรียน ( SARUS CRANESARUS CRANE)
14.แมวลายหินอ่อน ( MARBLED CATMARBLED CAT)
15.พะยูน หรือ หมูน้ำ ( DUGONG DUGONDUGONG DUGON)




2.สัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าคุ้มครองแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 
2.1 สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 หมายถึงสัตว์ป่าที่ปกติคนจะไม่ใช้เนื้อเป็นอาหารหรือไม่ล่าเพื่อการกีฬาหรือสัตว์ป่าที่ทำลายศัตรูพืชหรือขจัดสิ่งปฏิกูล หรือควรสงวนไว้เพื่อความงามตามธรรมชาติ หรือสงวนไว้มิให้ลดจำนวนลง สัตว์ป่าประเภทนี้ห้ามล่า แต่การล่าต้องไม่ทำให้ตายและขออนุญาตจากกรมป่าไม้ก่อน สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 กฎกระทรวงฉบับที่ 14 (2535) มีทั้งหมด 5 จำพวก 230 รายการ  
2.2 สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 หมายถึงสัตว์ป่าที่คนนิยมใช้เนื้อเป็นอาหาร หรือล่าเพื่อการกีฬา มีทั้งหมด 62 ชนิด มี 33 พวก 1)พวกเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มี 12 ชนิด 2)  พวกนกมี 22 ชนิด 3) สัตว์ป่าจำพวกเลื้อยคลานมี 28 ชนิด


3.สัตว์ป่าที่ไม่สงวนและคุ้มครอง หมายถึงสัตว์ป่าที่ไม่ปรากฏ
ตามบัญชีท้าย พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าในกฎกระทรวงฉบับที่ 14 สัตว์ป่าเหล่านี้สามารถทำการล่าได้ตลอดเวลา สัแต่ต้องไม่ล่าในเขตหวงห้ามและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เป็นต้น สัตว์ป่าที่ไม่สงวนและคุ้มครอง เช่น หนู ค้างคาว แย้งูเห่า นกกระจอก เป็นต้น







วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทรัพยากรป่าไม้

ทรัพยากรป่าไม้
1.ป่าประเภทไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีต้นไม้ที่มีใบเขียวชะอุ่มอยู่ตลอดทั้งปี ถึงจะมีการผลัดใบบ้างก็เพียงสลัดใบไม่พร้อมกันหมดทั้งต้น ป่าประเภทนี้ยังสามารถแบ่งออกอย่างกว้างขวางตามความสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้อีกคือ








1.1 ป่าดงดิบชื้น ขึ้นอยู่ทั่วไปของประเทศบริเวณที่มีดินเหนียว
หรือดินเหนียวปนทราย ที่มีความสามารถเก็บความชุ่มชื้นได้นานพบมากทางภาคใต้ของประเทศไทย ไม้สำคัญที่พบได้แก่ ไม้ในตระกูลยาง ไม้ตะเคียน ตะแบก มะหาด ยมหอม เป็นต้น จะมีไม้พื้นล่างขึ้นอย่างหนาแน่น รกทึบทำให้แสงสว่างส่องไม่ค่อยถึงพื้นดิน บางแห่งมีแสงส่องถึงพื้นดินเพียง 10-15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ไม้พื้นล่างได้แก่ ไม้ในตระกูลปาล์ม ไผ่ หวาย และเถาวัลย์ชนิดต่างๆ










1.2 ป่าดงดิบแล้ง สภาพโดยทั่วไปคล้ายกับป่าดงดิบชื้น แต่ความหนาแน่นของพรรณไม้พื้นล่างโปร่งกว่า ไม้มีขนาดเล็กกว่าปริมาณน้ำฝนมีน้อยกว่าป่าดงดิบชื้น ส่วนชนิดพันธุ์ไม้ก็คล้ายป่าดงดิบชื้น มีขึ้นทั่วไปของประเทศ ส่วนที่แตกต่างจากป่าดงดิบชื้นคือต้นไม้ในป่าประเภทนี้มีทั้งที่ผลัดใยและไม่ผลัดใบ










1.3ป่าดงดิบเขา เป็นป่าไม้ที่ขึ้นอยู่ในที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,100เมตรขึ้นไป มีอากาศเย็นความชื้นสูงพันธุ์ไม้ที่สำคัญที่พบได้แก่ไม้ในวงศ์ไม้ก่อหรือที่เรียกว่า ไม้ โอ๊ค ไม้พื้นล่างมีไม้ตระกูลกุหลาบป่า ผักกูด กล้วยไม้ดิน เง้าน้ำทิพย์ มอสชนิดต่าง ๆๆ หรือข้าวตอกฤาษี เป็นต้น












1.4ป่าสนเขา ส่วนใหญ่พบบนยอดเขาหรือตามเนินเขาสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไป จะเป็นหมู่เดี่ยว ๆๆ บางทีขึ้นอยู่ปะปนกับป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณหรือป่าแดง โดยทั่วไปชอบขึ้นในดินที่ไม่สู้อุดมสมบูรณ์นัก ดินเป็นกรด มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญเพียง 2ืชนิด คือ ไม้สนสองใบและสนสามใบ สนสองใบ บางท้องถิ่นเรียกสนเขา สนหางม้า เกี๊ยะเปลือกดำ จ๋วง ไม้ใต้ โชเกี๊ยะเปลือกหนา ขึ้นอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 เมตร ถึง 1,000 เมตรสนสามใบ หรือไม้เกี๊ยะเปลือกบาง เปลือกแดง จะพบในที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป








1.5 ป่าชายเลน เป็นป่าที่ขึ้นอยู่บนดินตามริมชายฝั่งทะเ
 ปากแม่น้ำลำคลอง ที่มีน้ำเค็มขึ้นถึง จะพบทางภาคตะวันออก ภาคกลางและภาคใต้สำหรับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีป่า ชนิดนี้มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้โกงกางมีลักษณะพิเศษเป็นไม้ที่มีรากออกมาจากส่วนของลำต้นนอกจากนี้ไม้บางชนิดจะมีรากอากาศ เช่น ไม้ลำพู ลำแพน เป็นต้น ไม้พื้นล่างประกอบด้วย ไม้ปรงทะเล เหงือกปลาหมอ ปอทะเล โพธิทะเล เป้งทะเลเป็นต้น








2. ป่าประเภทผลัดใบ ได้แก่ป่าที่ต้นไม้จะทิ้งใบในฤดูแล้งพร้อมกันหมด เนื่องจากอากาศแห้งแล้ง ไม่มีฝนตกความชุ่มชื้นในดินมีน้อยจึงต้องทิ้งใบเพื่อเป็นการป้องกันการคายน้ำและหยุดการเจริญเติบโตชั่วคราวเมื่อถึงฤดูฝนก็จะแตกใบใหม่ ป่าประเภทนี้แบ่งออกได้ เป็น 2 ประเภท




2.1 ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าโปร่ง มีไม้ขนาดกลางขึ้นมากกว่าขนาดใหญ่ (ตามธรรมชาติ) มีพันธุ์ไม้หลายชนิดขึ้นปะปนไม่เป็นระเบียบหรือเป็นหมู่ไม้พื้นล่างส่วนใหญ่เป็นไม้ไผ่ ป่าชนิดนี้จะพบในภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ตะวันออก ส่วนภาคใต้แทบไม่มี ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้สัก แดง ประดู่มะค่าโมง เก็ดแดง ซ้อ ตะคร้อ โมก ฯลฯ ไม้พื้นล่างที่พบเป็นพวกหญ้าคา สาบเสือ ไผ่ป่า ไผ่บง ไผ่ซาง ฯลฯ ไม้ที่สำคัญของป่าชนิดนี้ ได้แก่ไม้สัก ตามธรรมชาติจะขึ้นเป็นหมู่ ๆๆ หรือห่างประปรายทั้งบนภูเขาและที่ราบ ถ้าเป็นบนภูเขาจะพบในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางไม่เกิน 900เมตรจะขึ้นดีในดินที่เกิดจากหินปูนมีการระบายน้ำดี




2.2 ป่าแดง ป่าแพะ ป่าโคก หรือป่าเต็งรัง จะพบป่าชนิดนี้
มากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก แต่จะไม่พบในภาคใต้จะขึ้นอยู่ตามดินทรายหรือลูกรัง มีสีแดง เนื่องจากมีธาตุเหล็กผสมอยู่มาก ดินจึงมีสีแดง ป่าชนิดนี้ขึ้นในที่อากาศแห้งแล้ง มีปริมาณ น้ำฝนน้อย ดินตื้นอาหารในดินมีน้อย มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้เต็งรัง เหียง พลวง ยอป่า มะขามป้อม ไม้พื้นล่างมีพวกหญ้า โจด หญ้าเพ็ค ปรงป่า เป้ง และอื่นๆ

ทรัพยากรน้ำ

ทรัพยากรน้ำ








1.มนุษย์ใช้น้ำดื่ม น้ำชนิดนี้ต้องสะอาดปลอดภัย สิ่งเหล่านี้
สำคัญและจำเป็นมากขึ้นเมื่อตอนรู้จักว่าน้ำไม่สะอาดนั้นเปรียบเสมือนยาพิษ 
















2.มนุษย์ใช้ในบ้านเรือน เช่น ใช้อาบ ใช้ซักฟอก 
ใช้ปรุงอาหาร ชำระล้าง ถ่ายเทของเสีย กะกันว่าคนหนึ่ง ๆๆ ถ้าจะใช้น้ำให้พอดี ๆๆ คนหนึ่ง ๆจะต้องใช้น้ำ 100 ลิตรต่อวัน










3.ใช้ในด้านอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมทุกชนิดต้องใช้น้ำ
 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการถลุงเหล็กต้องใช้น้ำเป็นจำนวนมากคือจะใช้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมแต่ละชนิด บางครั้งถ้าโรงงานอุตสาหกรรมขาดแคลนน้ำมากเข้าก็อาจเลิกกิจการ การอุตสาหกรรมใช้น้ำ ดังนี้


3.1 ใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์
3.2 ใช้เป็นตัวละลายวัตถุที่ใช้ในอุตสาหกรรม
3.3.ใช้เป็นตัวทำความสะอาดล้างวัตถุดิบ
3.4 ใช้กำจัดของเสียของโรงงานอุตสาหกรรม








4.น้ำเป็นที่อยู่อาศัยของปลา และสัตว์น้ำ
5.ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เช่น ว่ายน้ำ พายเรือ และอื่น ๆ
6.ใช้เป็นทางคมนาคม การขนส่งทางน้ำมีความสำคัญมาก เพราะเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
7. น้ำให้พลังงาน อาจจะนำพลังงานไปใช้ในโรงงานโดยตรง หรือนำไปเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้า










8.ใช้ในการเกษตรเป็นเรื่องสำคัญ เพราะน้ำจำเป็นสำหรับความเจริญงอกงามของพืชซึ่งหมายถึงพืชที่มนุษย์เพาะปลูกน้ำที่ใช้ในการนี้มีมากกว่าการใช้น้ำประเภทอื่นๆ